Archive for December, 2014

การออกแบบสร้างโบสถ์ควรคำนึงถึงบริเวณการก่อสร้างหอระฆังและมีการกำหนดให้ใช้หอระฆัง

Monday, December 22nd, 2014

5

ลานหน้าโบสถ์ มีความสำคัญมาก เพราะลานนี้จะแสดงออกถึงคุณค่าของการต้อนรับเป็นด่านแรก บางครั้งใช้ลานดังกล่าวในการประกอบพิธี หรือบางทีก็ใช้เป็นทางผ่านเข้าเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างภายนอกโบสถ์และภายในโบสถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับสภาพจิตใจจากความสับสนวุ่นวายของชีวิตภายนอก เตรียมจิตใจเข้าสู่ความสงบภายในโบสถ์ระเบียงทางเข้าสู่อาคารโบสถ์ การสร้างโบสถ์ในคติเดิมเพื่อจะผ่านเข้าสู่โถงภายในอาคารโบสถ์ จะต้องผ่านระเบียงทางเข้าสู่อาคารโบสถ์ที่เรียกกันว่า Atrium หรือ Nathex ก่อนและบริเวณนั้นจะมีประตูโบสถ์อยู่ ระเบียงนี้ คือ บริเวณที่ให้การต้อนรับบรรดาสัตบุรุษผู้มาร่วมพิธี ซึ่งเปรียบเสมือนพระศาสนจักรเหมือน”มารดาผู้ให้กรต้อนรับลูกๆของพวกเธอ” และประตูทางเข้าโบสถ์ก็เปรียบเสมือน”พระคริสตเจ้า ผูทรงเป็นประตูของบรรดาแกะทั้งหลาย”

หอระฆัง ในการออกแบบสร้างโบสถ์ ควรคำนึงถึงบริเวณการก่อสร้างหอระฆัง และมีการกำหนดให้ใช้หอระฆัง เพื่อประโยชน์ใช้สอยแบบดั้งเดิม นั่นคือ การเรียกสัตบุรุษให้มาร่วมชุมนุมในวันพระจ้า หรือเป็นการแสดงออกถึงวันฉลองและสมโภช รวมทั้งเป็นการสื่อสารให้ทราบกันด้วยสัญญาณเคาะระฆังรูปพระ สอดคล้องกับธรรมเนียมดั้งเดิมของศาสนจักร พระรูปของพระคริสตเจ้า พระแม่มารี และนักบุญได้รับการเคารพในโบสถ์ต่างๆ แต่รูปพระเหล่านี้จะต้องจัดวางในลักษณะที่จะไม่ทำมให้สัตบุรุษวอกแวกไปจากการประกอบพิธีที่กำลังดำเนินอยู่และไม่ควรจำนวนมาก และจะต้องไม่มีรูปนักบุญองค์เดียวกันมากกว่าหนึ่งรูป รวมทั้งจัดขนาดให้เหมาะสมอ่างน้ำเสก เตือนให้รำลึกถึงอ่างล้างบาป และน้ำเสกที่สัตบุรุษใช้ทำเครื่องหมายกางเขนบนตนเองนั้น เป็นการเตือนใจให้ระลึกถึงศีลล้างบาปที่เราได้รับ ด้วยเหตูนี้เองที่อ่างน้ำเสกจึงตั้งไว้ตรงทางเข้าโบสถ์ มีรูปแบบและรูปทรงสอดคล้องกับอ่างล้างบาป

รูปสิบสี่ภาค ไม่ว่ารูปสิบสี่ภาคจะประกอบด้วยพระรูปพร้อมทั้งไม้กางเขน หรือมีเฉพาะไม้กางเขนเพียงอย่างเดียว ก็ให้ประดิษฐานไว้ในโบสถ์ หรือ ณ สถานที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งรูปสิบสี่ภาค เพื่อความสะดวกของสัตบุรุษ เครื่องเรือนศักดิ์สิทธิ์ การประกอบพิธีกรรมของคริสตชนต้องใช้อุปกรณ์หลายอย่างทั้งที่เป็นโครงสร้างถาวรและที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ มีทั้งเป็นเครื่องเรือนหรือภาชนะ เราใช้ชื่อรวมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เครื่องเรือนศักดิ์สิทธิ์” หรือ “เครื่องเรือนพิธีกรรม” ซึ่งหมายถึง อุปกรณ์เหล่านั้นซึ่งมีไว้ใช้สอยในระหว่างการประกอบพิธีการปฏิรูปพิธีกรรมสังคายนาก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วย “พระศาสนจักรเอาใจใส่กวดขันเป็นพิเศษ ให้เครื่องเรือนที่ใช้ในศาสนา สวยงามสมที่จะช่วยให้ครวกิจมีความสง่างาม พระศาสนจักรจึงยอมให้มีการเปลี่ยนปลงรูปทรง การตกแต่งที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิชาการตามยุคสมัย”