Posts Tagged ‘การสร้างโบสถ์’

การทำบุญด้วยการสร้างโบสถ์และอานิสงส์จากการสร้างโบสถ์

Monday, June 30th, 2014

การสร้างวัดนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยทั้งกำลังทรัพย์และกำลังคนเป็นอย่างมาก เพราะต้องสร้างวัดให้มีความเพียบพร้อมโดยเฉพาะโบสถ์ซึ่งเป็นสถานที่ต้องใช้เพื่อการทำสังฆกรรมสำคัญๆ เช่น การอุปสมบท นอกจากนี้โบสถ์ที่สร้างขึ้นยังสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อย่างเช่น เป็นอาคารอเนกประสงค์โดยใช้เป็นที่ประชุมหรือแสดงธรรม ใช้ทำวัตรเช้าค่ำและใช้เป็นที่พักชั่วคราวสำหรับพระอาคันตุกะ ฉะนั้นผู้ที่สร้างโบสถ์ถวายจึงได้บุญกุศลมากมายทั้งชาตินี้และชาติหน้า

ชาตินี้ ผู้ที่ถวายโบสถ์ ย่อมได้ความปลื้มปีติสุขอย่างสูง เมื่อพระสงฆ์ได้ใช้โรงอุโบสถ์ที่ตนสร้างถวายอย่างคุ้มค่า เกียรติคุณของผู้ถวายย่อมฟุ้งขจร

ชาติหน้าผู้ที่ถวายโบสถ์ เมื่อถึงแก่กรรมแล้วย่อมได้ไปเกิดในที่ดี มีความสะดวกสบายที่เรียกว่า สุคติโลกสวรรค์ อันเพียบพร้อมด้วยสิ่งที่ประเสริฐ

การผูกพันธสีมาและฝังลูกนิมิต เมื่อมีโบสถ์แล้วเป็นหน้าที่ของฝ่ายพระสงฆ์ ที่จะต้องมีพิธีผูกพัทธสีมารวมถึงการเตรียมลูกนิมิตไว้พร้อม ทั้งนี้จำเป็นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามพระวินัยพุทธบัญญัติก่อน พระสงฆ์จึงกระทำสังฆกรรมที่กำหนดไว้ในพระวินัยได้ นอกจากนี้การสร้างลูกนิมิตจะส่งผลให้ไม่ว่าเราจะนึกทำสิ่งใดก็จะทำให้สำเร็จโดยเร็วฉับพลัน สิ่งดีๆ จะเข้ามาในชีวิต ประกอบการค้าขายก็เจริญก้าวหน้า ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็จะแคล้วคลาดปลอดภัย จิตใจของเราจะหนักแน่น จะไม่ท้อแท้ไม่สะทกสะท้านต่อสิ่งใดที่มากระทบและเมื่อตั้งใจจะทำสิ่งใดก็สำเร็จได้ดังใจปรารถนาโดยสมบูรณ์เหมือนดั่งที่ลูกนิมิต

ดังนั้นอานิสงส์ในการสร้างโบสถ์จะส่งผลให้ครอบครัวและการงานจะเป็นบึกแผ่น ไม่คลอนแคลนไม่ล้มเป็นฐานของบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัวและเครือญาติ จะมีความอบอุ่น รักใคร่ปรองดองกัน ไม่ว่าจะเกิดชาติใด ก็จะเป็นคนมีหลักฐานมั่นคง ซึ่งจะเห็นว่าการร่วมทำบุญไม่ว่าจะทำบุญในด้านไหนก็ล้วนแล้วแต่จะช่วยให้เรามีความสุขทั้งทางกายและใจและยังช่วยให้บุญที่ทำนั้นส่งผลให้ชีวิตของเรามีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นอีกทั้งทำให้เราได้บุญอีกด้วย

การเลือกที่ก่อตั้งโบสถ์เพื่อเป็นสถานที่บริการให้กับประชาชนได้เข้าไปสักการะ

Thursday, March 20th, 2014

 

กล่าวกันว่าการสร้างโบสถ์นั้นจะต้องพิถีพิถันเลือกพื้นที่เป็นพิเศษ พื้นที่นั้นจะต้องบริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทินทั้งปวง อันที่จริงนั้นการก่อสร้างใดๆ ก็ตามในพระพุทธศาสนา มักจะมีการเลือกพื้นที่ที่สะอาดบริสุทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้น แม้แต่องค์พระเจดีย์เองก็ปรากฏกล่าวถึงในตำนานโบราณเสมอว่า ในการเลือกที่สร้างนั้นต้องพิจารณาแม้เนื้อดิน ตลอดจนกลิ่นและสีของดินด้วยซ้ำไป เช่น ที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ถูปวงศ์ ตำนานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น

ที่กล่าวมานี้เป็น การเลือกชนิดดินในทางด้านวัตถุเท่านั้น ดังได้กล่าวมาแล้ว สำหรับการสร้างโบสถ์นั้นต้องพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ของพื้นดินให้ลึกซึ้งยิ่งไปกว่านั้น สถานที่ที่จะสร้างโบสถ์จะต้องมีความบริสุทธิ์ในการใช้สอยก่อนหน้านี้มาด้วย เช่น

-ไม่เคยเป็นสุสานหรือเคยเป็นเชิงตะกอนมาก่อน
-ไม่เคยเป็นที่ประหาร
-หรือไม่เคยเป็นที่ใดๆ ที่มีการใช้งานที่เป็นอัปมงคลมาก่อน

โบสถ์ที่สร้างในน้ำในกรณีที่ต้องการความ บริสุทธิ์ของพื้นที่ปลูกสร้างเป็นพิเศษ ตัวโบสถ์จะต้องอยู่ห่างจากฝั่ง ชั่วระยะวักน้ำสาดไม่ถึง และเมื่อพระภิกษุ ข้ามจากฝั่งมายังโบสถ์แล้ว จะต้องชักสะพานออกไม่ให้มีสิ่งเชื่อมต่อระหว่าง ฝั่งกับตัวโบสถ์และในการสร้างโบสถ์ใหม่ทุกครั้ง พระสงฆ์จะต้องประกอบพิธีถอนความไม่บริสุทธ์ิใดๆ ที่อาจมีในพื้นที่นั้นเสียก่อน

ในการสวดถอนของคณะสงฆ์นั้น พระภิกษุจะห่างกันในระยะหัตถบาสจนเต็มพื้นที่ที่จะต้องการสวดถอน ถ้าไม่อาจหาพื้นดินบริสุทธิ์ได้ก็จะกระทำสังฆกรรมกันกลางน้ำ โดยชักสะพานหรือสิ่งที่ทอดข้ามติดต่อระหว่างโบสถ์น้ำหรืออุทกเขปกับฝั่งออก เพื่อตัดความเชื่อมโยงระหว่างพื้นดินที่ไม่บริสุทธิ์กับแพ หรือเรือที่ใช้ทำสังฆกรรม ในกรณีที่ใช้โบสถ์เก่าก็มักจะทำให้บริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่ ด้วยการสวดและผูกสีมาทับซ้อนของเดิม ดังนั้นเราจึงเห็นวัดโบราณบางวัด มีหลักสีมาสองหรือสามหลัก