คริสตศานาในประเทศไทยมีหลายนิกาย
Friday, September 25th, 2015“โบสถ์” คืออาคารศักดิ์สิทธิ์สร้างขึ้นเพื่อนมัสการพระเจ้าเป็นสถานที่ซึ่งบรรดาสัตบุรุษรวมตัวกันปฏิบัติคารวกิจสาธารณะ อาคารโบสถ์หมายถึง “บ้านของพระเจ้า” ด้วย คือบ้านที่มีไว้เพื่อให้ประชากรของพระมาชุมนุมพร้อมกันประกอบพิธีกรรมการมา ชุมนุมกันเพื่อนมัสการพระเจ้า เป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของวิถีชีวิตคริสตชน และคริสตชนสำนึกตนเองว่าเป็นประชากรของพระเจ้า และพวกเขาก็มารวมตัวกันถวายนมัสการในฐานะที่เป็นประชากร
คริสตศานาในประเทศไทยมีหลายนิกาย แต่ละนิกายจะมีจารีตและการใช้คำ สัญลักษณ์ที่แตกต่างกันนิกายที่มีประชาชนรู้จักและนับถือกันมากมีอยู่ 2 นิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิก (คริสตัง) และนิกายโปรเต สเเตนต์ (คริสเตียน) แต่ละนิกายจะมีวิธีเรียกที่แตกต่างกันเช่น นิกายโรมันคาทอลิคจะเรียกโบถส์ของตนเองว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พระแม่มารี โบสถ์ในนิกายนี้จะตกต่างด้วยสถาปัตยกรรมยุโรบ ประดับประดาด้วยรูปปั้นต่างๆ แต่นิกายโปรแตสแตนส์จะเรียนกโบถส์ของตนเองว่า คริสตจักร เช่น คริสตจักรพระสัญญา อาคารของโบสถ์จะเน้นความเรียบง่ายเหมือนอาคารทั่วไป ไม่เน้นรูปเคารพหรือรูปปั้น อาจจะมีไม้กางเขนเล็กพอเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอาคารทางด้านศาสนกิจเท่านั้น
โบสถ์มีส่วนประกอบคราวๆ ดังนี้
- ลานหน้าโบสถ์ ลานหน้าโบสถ์ถือว่ามีความสำคัญมากที่จะต้องมีเผื่อไว้ เพราะลานนี้จะแสดงออกซึ่งคุณค่าของการให้การต้อนรับเป็นด่านแรก ดังนั้น อาจออกแบบเป็นรูปลานหน้าโบสถ์ที่มีเสาเรียงรายรองรับซุ้มโค้งอยู่โดยรอบๆ ด้าน หรือรูปแบบอย่างอื่นที่จะส่งผลคล้ายคลึงกัน บางครั้งก็ใช้ลานดังกล่าวในการประกอบพิธีด้วย หรือบางทีก็ใช้เป็นทางผ่านเข้า เป็น “ตัวเชื่อมโยง” ระหว่าง “ภายนอกโบสถ์” และ “ภายในโบสถ์” โดยจะต้องไม่ให้ส่งผลกระทบที่กลายเป็นการปิดกั้น แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับสภาพจิตใจจากความสับสนวุ่นวายของชีวิตภายนอกเตรียมจิตใจเข้าสู่ความสงบภายในโบสถ์
- ระเบียงทางเข้าสู่อาคารโบสถ์และประตูโบสถ์ การสร้างโบสถ์ในคติเดิมเพื่อจะผ่านเข้าสู่โถงภายในอาคารโบสถ์ จะต้องผ่านระเบียงทางเข้าสู่อาคารโบสถ์ก่อนและบริเวณนั้นจะมีประตูโบสถ์อยู่ด้วยระเบียงนี้ คือ บริเวณที่ให้การต้อนรับบรรดาสัตบุรุษผู้มาร่วมพิธีซึ่งเปรียบเสมือนพระศาสนจักรเหมือน “มารดาผู้ให้การต้อนรับลูกๆ ของพวกเธอ” และประตูทางเข้าอาคารโบสถ์ก็เปรียบเสมือน “พระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นประตูของบรรดาแกะทั้งหลาย ” ดังนั้นหากจะมีภาพตกแต่งที่ประตูกลาง ก็ให้คำนึงถึงความหมายดังกล่าวขนาดของประตูและทางเข้านี้ นอกจากจะต้องคำนึงถึงสัดส่วนให้เหมาะสมกับขนาดความจุของโถงภายในโบสถ์แล้ว ยังจะต้องคำนึง ถึงความจำเป็นของขบวนแห่อย่างสง่าที่จะต้องผ่านเข้าออกด้วย
- หอระฆังและระฆังโบสถ์ ในการออกแบบก่อสร้างโบสถ์ควรจะคำนึงถึงบริเวณการก่อสร้างหอระฆังและกำหนดให้มีการใช้ระฆัง เพื่อประโยชน์ใช้สอยแบบดั้งเดิม นั่นคือ การเรียกสัตบุรุษให้มาร่วมชุมนุมกันในวันพระเจ้า หรือเป็นการแสดงออกถึงวันฉลองและสมโภช รวมทั้งเป็นการสื่อสารให้ทราบถึงกันด้วยสัญญาณการเคาะระฆัง เช่น ระฆังเข้าโบสถ์วันธรรมดา ระฆังพรหมถือสาร ระฆังวันสมโภช ระฆังผู้ตาย ฯลฯ ควรละเว้นการใช้เสียงระฆังจากเครื่องเสียงและลำโพง
- รูปพระ สอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของพระศาสนจักร พระรูปของพระคริสตเจ้า, พระแม่มารี และนักบุญได้รับการเคารพ ในโบสถ์ต่างๆแต่รูปพระเหล่านี้จะต้องจัดวางในลักษณะที่จะไม่ทำให้สัตบุรุษ วอกแวกไปจากการประกอบพิธีที่กำลังดำเนินอยู่และไม่ควรจำนวนมาก และจะต้องไม่มีรูปนักบุญองค์เดียวกันมากกว่าหนึ่งรูป รวมทั้งจัดขนาดให้เหมาะสมด้วย โดยปรกติแล้วควรจะคำนึงถึงความศรัทธาของหมู่คณะทั้งหมดในการตกแต่งและการจัดสร้างโบสถ์
- อ่างน้ำเสก อ่างน้ำเสกเตือนให้ระลึกถึงอ่างล้างบาป และน้ำเสกที่สัตบุรุษใช้ทำเครื่องหมายกางเขนบนตนเองนั้น เป็นการเตือนใจให้ระลึกถึงศีลล้างบาปที่เราได้รับ ด้วยเหตุนี้เองที่อ่างน้ำเสกจึงตั้งไว้ตรงทางเข้าโบสถ์นอกจากนี้ยังกำชับให้ใช้วัสดุเดียวกัน มีรูปแบบและรูปทรงสอดคล้องกับอ่างล้างบาปด้วย